Category Archives: บทความ

Life After Weight Loss Surgery โปรแกรมดูแลหลังผ่าตัดลดน้ำหนัก

หลังผ่าตัดกระเพาะ หรือผ่าตัดลดน้ำหนัก ต้องดูแลกันยาวๆทั้งในเรื่องอาหาร พฤติกรรม การปรับยา รวมถึงการรับประทานวิตามินให้เหมาะสม พบกับโปรแกรม Life after weight loss surgery follow-up Program โดยแพทย์เฉพาะทาง Endocrinologist ครบจบ ในครั้งเดียว  ตรวจเลือด วิเคราะห์ วิตามิน แร่ธาตุ เพื่อให้วิตามินที่เหมาะสมกับการผ่าตัด  ปรับลดยาโรคประจำตัวที่เคยรับประทานให้เหมาะสม  ควบคุมไม่ให้เกิดภาวะ Weight Regain  ค่าบริการตรวจเลือดและปรึกษาแพทย์ Complete Program แนะนำตรวจครั้งแรกหลังผ่าตัด และ ทุก 1 ปี  5,999.- (CBC, Lipid profile, BUN, Cr, AST, ALT, FPG, Vitamin D Level, Vitamin B12, Calcium, Ferritin, Urine Calcium, UA) .  ค่าบริการตรวจเลือดและปรึกษาแพทย์ […]

ทำไมฉีดโบท็อกซ์ แล้วไม่ลง ไม่เห็นผล

หลายคนต้องประสบกับปัญหา ฉีดโบท็อกซ์แล้วไม่ลง หรือ ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง รู้สึกไม่คุ้มเหมือนเสียเงินฟรี! วันนี้ ATTA CLINIC มีคำตอบพร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ทุกคน เพื่อเป็นความรู้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ ฉีดโบท็อกซ์ไม่เห็นผล 1. ฉีดโบท็อกซ์ปลอม หรือไม่ผ่านอย. โบท็อกซ์ที่ไม่ได้มาตราฐาน เราไม่สามารถทราบได้ว่าส่วนผสมทำมาจากอะไร นอกจากฉีดแล้วไม่ได้ผล ยังอาจเกิดผลที่อันตรายมาก เราจะสามารถเช็คของแท้ได้จาก กล่อง ฉลาก และ รายละเอียดรอบกล่อง 2. กระดูกกราม ก่อนฉีดโบท็อกซ์ต้องมีการประเมินการรักษากับคุณหมอก่อน เพื่อให้คุณหมอพิจารณาและวิเคราะห์ใบหน้าของแต่ละบุคคล โดยการกัดกราม ในส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อกราม โบท็อกซ์จะสามารถช่วยสลายได้ทั้งหมด แต่ในส่วนของกระดูกโบท็อกซ์จะไม่สามารถช่วยลดได้ 3. อาการดื้อโบท็อกซ์ เกิดจากการได้รับยาไม่ได้มาตรฐาน มีสารปนเปื้อน กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันออกมาป้องกัน ต่อต้านในครั้งต่อๆ ไป ทำให้ในภายหลังไม่ว่าจะ ฉีดโบท็อกซ์ ยี่ห้ออะไร ดีขนาดไหน ก็จะดื้อยา เพราะร่างกายได้ต่อต้านไปแล้ว เพราะฉะนั้นทางที่ดีที่สุดต้องป้องกันปัญหาตั้งแต่ต้น โดยเลือกคลินิกที่มีมาตรฐาน ตรวจสอบ โบท็อกซ์ ทุกครั้งก่อนฉีด 4. มีไขมันมากกว่ากล้ามเนื้อ คนไข้รู้สึกว่าช่วงนี้หน้าใหญ่หน้าบาน แต่เมื่อฉีดโบท็อกซ์แล้วก็ไม่เห็นผล อาจเป็นเพราะใบหน้ามีไขมันมากกว่ากล้ามเนื้อ การเช็คคือ […]

สิ่งที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์ (Filler) คือ สารเติมเต็มประเภท Hyaluronic Acid หรือ HA สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบสารธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วในร่างกายของมนุษย์เรา โดยสารกลุ่มนี้จะมีอยู่มากในชั้นผิวหนังและกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของคอลลาเจน และมีส่วนช่วยในการเติมเต็มใบหน้า ริ้วรอย รอยหมองคล้ำให้ดูจางลง ช่วยแก้ไขโครงสร้างใต้ผิวหนัง ส่งผลให้ใบหน้าบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เต่งตึงขึ้น ดูมีน้ำมีนวล อีกทั้งยังเป็นการเติมเส้นใยคอลลาเจนที่หายไป ให้ผิวนั้นดูอ่อนเยาว์ ริ้วรอยร่องลึกดูตื้นขึ้น ใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย ฟิลเลอร์ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท 1. Temporary filler (แบบชั่วคราว) ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน นานถึง 2 ปี สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น ฟิลเลอร์กลุ่มไฮยารูรอนิกแอซิด (Hyaluronic Acid) หรือ HA ที่เรารู้จักกัน 2. Semi Permanent Filler (แบบกึ่งถาวร) ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร สามารถอยู่ได้นานประมาณ 2-5 […]

ตัวย่อย LGBTQ คืออะไร? เข้าใจความหมายของความหลากเฉดสี

ถ้าพูดถึง LGBTQ หลายคนคงรู้จักว่าคือ กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่อาจยังไม่รู้ว่าอักษรย่อ L-G-B-T-Q นี้มีความหมายอย่างไร มาดูกันค่ะ Lesbian (L) เลสเบี้ยนหมายถึงผู้หญิงที่มีความรักต่อผู้หญิงด้วยกัน เป็นการอธิบายความต้องการทางเพศและความต้องการฉันคู่รัก (romantic desire) ระหว่างผู้หญิงด้วยกันคำว่า “เลสเบี้ยน” อาจใช้เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หญิงที่นิยามหรือถูกผู้อื่นมองว่ามีลักษณะรักเพศเดียวกัน หรือเป็นคำคุณศัพท์ ใช้อธิบายลักษณะเฉพาะของวัตถุหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนาในการรักเพศเดียวกันของผู้หญิง Gay (G) เกย์หมายถึงผู้ชายที่มีความรักต่อผู้ชายด้วยกัน ผู้ชายที่มีลักษณะทางกายภาพเป็นผู้ชายโดยจะมีความรักและความปรารถนาในระหว่างเพศเดียวกันการมีความสัมพันธ์ในแบบคู่รักหรือการมีเพศสัมพันธ์ (Sex) อาจจะไม่กำหนดว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องเป็นฝ่ายรับหรือรุกเท่านั้นแต่อาจจะเป็นได้ทั้งสอง Bisexual (B) ไบเซ็กชวลหมายถึงบุคคลที่สามารถมีความรักได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงหรือเรียกสั้นๆว่า ไบ (Bi) เป็นรสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation) หรือความสนใจทางเพศที่มีต่อบุคคลอื่น คนที่มีรสนิยมแบบไบเซ็กชวลอาจมีประสบการณ์ทางเพศ อารมณ์ ความรัก กับคนที่มีลักษณะทางเพศ (Sexual Characteristics) ที่เป็นเพศเดียวกับตัวเองหรือเพศตรงข้ามและยังหมายถึงความรู้สึกส่วนตัวและ    อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender identity) โดยยึดจากความสนใจทางเพศ (Sexual orientation) การแสดงออกทางพฤติกรรม (Gender expression) Transgender (T) […]

ทำไมถึงเรียก “เบาหวาน” ทั้งที่น้ำตาลตาลสูงปี๊ด

โรคเบาหวาน เป็นโรคของระบบเมตะบอลิซึมที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยมักจะมีอาการ คือ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักตัวลด และอาจพบว่าร่างกายอ่อนล้าง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งหากปล่อยไว้อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ โรคเบาหวาน แบ่งเป็น 4 ชนิด ดังนี้ 1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes, T1D) 1.1 Immune mediated 1.2 Idiopathic   2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes, T2D) 2.1 Predominant insulin resistance 2.2 Predominant insulin secretory deficiency   3. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (other specific types) 3.1 โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติบนสายพันธุกรรมเดี่ยวที่ควบคุมการทำงานของเบต้าเซลล์ คือ Maturity […]

สาเหตุของการเกิดโรคอ้วน

โรคอ้วน เกิดจากการทานอาหารที่มีปริมาณไขมันที่มากเกินไป และอาจก่อให้เกิดปัญหาและโรคแทรกซ้อนอื่นตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือโรคมะเร็ง ซึ่งการลดน้ำหนักเป็นวิธีที่สามารถช่วยป้องกันและรักษาปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้ รวมถึงการปรับพฤติกรรม การปรับการทานอาหาร หรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อขอคำแนะนำในการรักษา ด้วยวิธีการให้ยาหรือขั้นตอนอื่นๆ เพื่อช่วยในการดูแลสุขภาพและลดน้ำหนัก สาเหตุของการเกิด “โรคอ้วน” สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม ระบบการเผาผลาญและฮอร์โมน การรับแคลอรี่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถเผาผลาญได้   ผู้ที่เป็น โรคอ้วน เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนใดบ้าง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน มะเร็งบางชนิด ปัญหาทางเดินอาหาร ปัญหาทางนรีเวชและทางเพศ อาการหยุดหายใจขณะหลับ โรคข้อเข่าเสื่อม