สิ่งที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์ (Filler) คือ สารเติมเต็มประเภท Hyaluronic Acid หรือ HA สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบสารธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วในร่างกายของมนุษย์เรา โดยสารกลุ่มนี้จะมีอยู่มากในชั้นผิวหนังและกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของคอลลาเจน
และมีส่วนช่วยในการเติมเต็มใบหน้า ริ้วรอย รอยหมองคล้ำให้ดูจางลง ช่วยแก้ไขโครงสร้างใต้ผิวหนัง ส่งผลให้ใบหน้าบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เต่งตึงขึ้น ดูมีน้ำมีนวล อีกทั้งยังเป็นการเติมเส้นใยคอลลาเจนที่หายไป ให้ผิวนั้นดูอ่อนเยาว์ ริ้วรอยร่องลึกดูตื้นขึ้น ใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย

ฟิลเลอร์ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท
1. Temporary filler (แบบชั่วคราว)
ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน นานถึง 2 ปี สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น ฟิลเลอร์กลุ่มไฮยารูรอนิกแอซิด (Hyaluronic Acid) หรือ HA ที่เรารู้จักกัน
2. Semi Permanent Filler (แบบกึ่งถาวร)
ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร สามารถอยู่ได้นานประมาณ 2-5 ปี ยาวนานกว่าแบบแรก มีความปลอดภัยรองลงมาจากแบบแรก เช่น แคลเซียมฟิลเลอร์ ที่มีส่วนผสมของแคลเซียม ไฮดรอกซิลอะพาไทต์ (Hydroxyapatite) สารเติมเต็มกลุ่มกึ่งถาวรนี้มีใช้ในต่างประเทศ แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้รักษาในประเทศไทย หากเกิดผลข้างเคียงหลังการรักษาจะสามารถทำการแก้ไขได้ยากกว่าสารเติมเต็มในกลุ่มที่ย่อยสลายได้
3. Permanent Filler (แบบถาวร)
ฟิลเลอร์แบบถาวร เป็นสารเติมเต็มพวก ซิลิโคน หรือ พาราฟิน หลังฉีดไปแล้วผิวจะไม่สามารถดูดซึมฟิลเลอร์ชนิดนี้ได้ ทำให้คงค้างอยู่ในชั้นผิวของเรา โดยไม่สามารถสลายไปตามธรรมชาติ มีผลข้างเคียงในระยะยาว เช่น ฟิลเลอร์ไหล
ฟิลเลอร์ย้อยผิดรูป ไม่แนะนำให้ฉีดสารเติมเต็มชนิดนี้ เพราะหากต้องการนำออก อาจจะไม่สามารถนำออกได้หมด ซึ่งเกิดอันตรายในระยะยาวแก่ร่างกายได้

ก่อนฉีดฟิลเลอร์ ต้องรู้อะไรบ้าง?
1. ประเภทของฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์ สามารถแบ่งประเภทได้หลากหลายรูปแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างครอบคลุม คือ ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว (Temporary filler) ฟิลเลอร์แบบกึ่งชั่วคราว (Semi Permanent Filler) และ ฟิลเลอร์แบบถาวร (Permanent Filler)
2. ฟิลเลอร์แท้ หรือ ฟิลเลอร์ปลอม
ฟิลเลอร์ที่ใช้ในการฉีดเพื่อทำการรักษา จะต้องเป็นฟิลเลอร์แท้ เท่านั้น โดยเราสามารถดูรายละเอียดได้จาก การเลือก
ฟิลเลอร์แท้ และ ฟิลเลอร์คุณภาพ และ วิธีการตรวจสอบฟิลเลอร์แท้หรือปลอม
3. แพทย์ผู้ทำการรักษา
อย่างแรกจะต้องมั่นใจได้ว่าเป็นแพทย์จริง ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อแพทย์ได้ที่ เว็บไซต์ของแพทย์สภา แพทย์ที่ทำการรักษาจะต้องเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ

ตำแหน่งยอดนิยมในการฉีดฟิลเลอร์

ข้อควรปฎิบัติก่อนการฉีดฟิลเลอร์
1. งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนฉีด 24 ชั่วโมง เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้เลือดแข็งตัวยาก จะส่งผลให้เกิดอาการช้ำได้ง่าย ซึ่งจะดีที่สุดหากสามารถเลี่ยงได้ 3 วัน
2. หลีกเลี่ยงอาหารเสริมหรือยาบางชนิด จะดีที่สุดหากสามารถหลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อการทำให้เกิดเลือดแข็งตัว อย่างน้อย 1 สัปดาห์ เช่น ยาแก้ปวด กลุ่ม NSAIDs, แอสไพริน (aspirin) และ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
3. เลี่ยงการใช้สมุนไพร  เช่น น้ำมันตับปลา แปะก๊วย โสม เป็นต้น
4. ควรแจ้งประวัติการใช้ยาหรือโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบก่อนฉีด
5. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม 2-3 วันก่อนฉีด เนื่องจากอาหารที่มีรสชาติเค็มจะทำให้อาการน้ำคั่ง ส่งผลให้ร่างกายมีโอกาสบวมมากขึ้น
6. หากมีโรคประจำตัว หรือตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบทุกครั้ง

ข้อควรปฎิบัติหลังการฉีดฟิลเลอร์
1. ประคบเย็นเบา ๆ บริเวณที่ฉีดครั้งละ 10 นาที ประมาณ 2-3 ชั่วโมง หากมีบริเวณที่ช้ำ
2. งดการออกกำลังกาย หรือทำกิจจกรรมที่สร้างความร้อนให้แก่ร่างกาย เช่น การซาวน่า เลเซอร์ร้อนที่ลงผิวชั้นลึกทุกชนิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
3. งดกดนวดบริเวณที่ทำการรักษา อย่างน้อย 48 ชั่วโมง
4. งดแอลกอฮอล์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
5. งดแต่งหน้าหรือใช้ครีมบำรุงทุกชนิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
6. ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อความชุ่มชื้นและให้ฟิลเลอร์ที่ฉีดไปอุ้มน้ำและฟูขึ้น
7. สามารถรับประทานยาได้หากมีปวดในบริเวณที่ฉีด แพทย์แนะนำกลุ่มยาแก้ปวด พาราเซตามอล

สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจเพื่อฉีดฟิลเลอร์ครั้งแรก สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ เช็กให้มั่นใจว่าฟิลเลอร์ที่ฉีดเป็นของแท้และมีคุณภาพหรือไม่? และควรให้การรักษาโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ เนื่องจากการฉีดฟิลเลอร์ต้องค่อนข้างต้องใช้ความรู้และความชำนาญ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *