โรคเบาหวาน เป็นโรคของระบบเมตะบอลิซึมที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยมักจะมีอาการ คือ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักตัวลด และอาจพบว่าร่างกายอ่อนล้าง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งหากปล่อยไว้อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้
โรคเบาหวาน แบ่งเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes, T1D)
1.1 Immune mediated
1.2 Idiopathic
2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes, T2D)
2.1 Predominant insulin resistance
2.2 Predominant insulin secretory deficiency
3. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (other specific types)
3.1 โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติบนสายพันธุกรรมเดี่ยวที่ควบคุมการทำงานของเบต้าเซลล์ คือ Maturity onset diabetes in the young (MODY) หลากหลายรูปแบบ และความผิดปกติของ Mitochondrial DNA เช่น
– MODY 3 มีความผิดปกติของ Chromosome 12 ที่ HNF-1α
– MODY 2 มีความผิดปกติของ Chromosome 7 ที่ glucokinase
– MODY 1 มีความผิดปกติของ Chromosome 20 ที่ HNF-4α
3.2 โรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติบนสายพันธุกรรมที่ควบคุมการทำงานของอินซูลิน เช่น type A insulin resistance, Leprechaunism, Lipoatrophic diabetes
3.3 โรคเบาหวานที่เกิดจากโรคตับอ่อน เช่น Hemochromatosis ตับอ่อนอักเสบ ถูกตัดตับอ่อน
3.4 โรคเบาหวานที่เกิดจากโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น Acromegaly, Cushing syndrome, Pheochromocytoma, Hyperthyroidism
3.5 โรคเบาหวานที่เกิดจากยาหรือสารเคมีบางชนิด เช่น Pentamidine, Steroid, Dilantin, a-interferon, Vacor
3.6 โรคเบาหวานที่เกิดจากโรคติดเชื้อ เช่น Congenital rubella, Cytomegalovirus
3.7 โรคเบาหวานที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่พบไม่บ่อย เช่น Anti-insulin receptor antibodies, stiff-man syndrome
3.8 โรคเบาหวานที่พบร่วมกับกลุ่มอาการต่าง ๆ เช่น Down syndrome, Turner syndrome, Klinefelter syndrome, Prader-willi syndrome, Friedrich’s ataxia, Huntington’s chorea, Myotonic dystrophy
4. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM)
และสำหรับที่มาของ “โรคเบาหวาน” ทำไมถึงเรียกว่าโรคเบาหวานทั้งที่ผู้ป่วยโรคนี้มีค่าน้ำตาลสูง ภาษาไทยเมื่อก่อนเข้าใจว่าเราจะเรียก ปัสสาวะว่า “เบา” และเรียกอุจจาระว่า “หนัก” ดังนั้นเบาหวานจึงหมายถึง ปัสสาวะที่หวานนั่นเอง ซึ่งก็เป็นผลพวงจากการที่น้ำตาลในเลือดเราสูงมากจนทำให้ต้องขับน้ำตาลที่เกินออกมาทางปัสสาวะนั่นเอง